ทิป บ๊อก ยุค 4.0

ทิป บ๊อก ยุค 4.0
ทิป บ๊อก ยุค 4.0

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

!!!ดาวใต้นิวส์ออนไลน์!!! ชาวตาพระยาร่วมใจสร้างธนาคารน้ำใต้ดินสู้ภัยแล้งที่มาถึงอีกไม่นานนี้




รายงานข่าว 29 ก.พ. 63 สมศักดิ์ สารการ ,วีระยุทธ สารการ จ.สระแก้ว 0870210815
ข่าว ชาวตาพระยาร่วมใจสร้างธนาคารน้ำใต้ดินสู้ภัยแล้งที่มาถึงอีกไม่นานนี้
*****กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ประเทศไทย ในปี 2563 ต้องเผชิญกับวิกฤตภัยแล้งที่รุนแรงมากในรอบ 40 ปี ฝนแล้งยาวนานจนถึงเดือนมิถุนายน โดยคาดว่าปริมาณฝนจะต่ำกว่าค่าปกติ 3-5 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุนี้ในหลายพื้นที่จึงคิดค้นหาวิธีกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และหนึ่งในหลายวิธีที่ทำแล้วได้ผลดี คือ การทำธนาคารน้ำใต้ดิน ด้วยหลักการขุดบ่อตรงที่มีน้ำท่วมขังให้ลึกจนสามารถกักเก็บน้ำไว้ใต้ดิน เมื่อยามเกิดภัยแล้งก็สามารถเจาะบ่อบาดาลแล้วดึงน้ำขึ้นมาใช้ได้ในยามหน้าแล้ง
*****เช้าวันนี้ ณ วัดเขาย้อยผาแดง ต.ทัพราช อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว หลวงพ่อทวี ปัญญญษวุโธ เจ้าอาวาสวัดเขาย้อยผาแดง เป็นประธารฝ่ายสงฆ์ นายอารยันต์ ท่าใหญ่ นายอำเภอตาพระยา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วย พ.อ.ถิรเดช ลิ้มคุณากุล รอง ผบ.ฉก.ตาพระยา นายพรพงษ์ เสาวคนธ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทัพราช นายโกเมศ เพ็ชรโกมล กำนันตำบลทัพราช สาธารณสุขอำเภอตำรวจ ทหาร ตชด.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ่อค้า ประชาชนเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้
*****หลวงพ่อทวี ปัญญญษวุโธ เจ้าอาวาสวัดเขาย้อยผาแดง กล่าวอธิบายถึงที่มาของการบริหารจัดการน้ำนอกเขตชลประทานด้วยระบบธนาคารน้ำใต้ดินเป็นโครงการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินเกิดขึ้น เนื่องจากชาวตำบลทัพราช อ.ตาพระยา ได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติต่างๆ ทั้งฤดูแล้งและฤดูมรสุม ทางวัดเขาย้อยผาแดงร่วมกับ อบต.ทัพราชและอำเภอตาพระยา  จึงคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่เรื้อรังมานาน จนกระทั่งตอน ปี 2558 คณะผู้บริหาร อบต.ทัพราช ได้นำคณะผู้นำชุมชน แกนนำหมู่บ้าน ผู้อำนวยการโรงเรียนที่อยู่ในเขตการปกครองร่วมเดินทางเพื่อศึกษาดูงานรับแนวคิด วิธีการที่ทำให้การดำเนินงานประโยชน์สูงสุด จากนั้นอาตมาภาพที่ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องการเก็บรักษาน้ำไว้ใต้ดิน ได้เริ่มทำบ่อเติมน้ำ ในปี พ.ศ. 2563ได้นำหลักการบริหารจัดการน้ำนอกเขตชลประทานด้วยระบบธนาคารน้ำใต้ดินดังกล่าว




*****นายอารยันต์ ท่าใหญ่ นายอำเภอตาพระยา กล่าวว่า ได้ร่วมกันหลายฝ่ายดำเนินการระบบธนาคารน้ำใต้ดินขึ้นระบบธนาคารน้ำใต้ดิน (Groundwater Bank) คือ การบริหารจัดการน้ำในลักษณะการใช้น้ำบนดิน ผิวดิน และน้ำฝน ที่ตกลงมาด้วยการนำหลักการเติมน้ำลงใต้ดิน เป็นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ราบ หรือพื้นที่ลุ่มมีน้ำขัง เมื่อน้ำไหลมารวมกันปริมาณมากๆ ในฤดูน้ำหลาก ต้องทำบ่อเก็บน้ำ เพื่อการส่งน้ำลงใต้ดิน ให้ขุดบ่อถึงชั้นหินอุ้มน้ำ ทำให้มีน้ำจำนวนมากเก็บไว้ใต้ดิน เป็นกรณีศึกษา การบริหารจัดการน้ำในระดับท้องถิ่นจะมีลำราง ร่องน้ำและคลองเล็กๆ เป็นแหล่งน้ำของหมู่บ้านและเป็นต้นน้ำที่ทำให้เกิดลำห้วย หลายๆ สาย เมื่อฝนตกน้ำฝนทั้งหมดในหมู่บ้านจะไหลรวมกันที่ลำราง ร่องน้ำหรือคลองเล็กๆ ลำรางทุกลำรางเป็นสาขาย่อยของลำห้วยการเก็บน้ำไว้ที่ต้นน้ำทุกลำรางด้วยการทำ “ฝายหยุดน้ำ เพื่อการส่งน้ำไว้ใต้ดินถึงชั้นหินอุ้มน้ำ (Aquifer) จะทำให้พื้นที่ในหมู่บ้านต้นน้ำไม่เกิดความแห้งแล้ง กลางน้ำและปลายน้ำไม่เกิดน้ำท่วมเมื่อน้ำหลากจากผลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินถึงชั้นหินอุ้มน้ำเกิดขึ้นทุกลำราง ลำห้วยจะมีน้ำเต็มตลิ่งตลอดฤดูกาลครบรอบ 12 เดือน
*****นายณรงค์ ปุริสพันธ์ สาธารณสุขอำเภอตาพระยา กล่าวว่า โดยร่วมกับทางอำเภอตาพระยา องค์การบริหารส่วนตำบลมีการกักเก็บน้ำทั้งหมด เพิ่มเทคนิคในการเติมน้ำลงใต้ดิน เพื่อกักเก็บไว้ใช้ได้ทั้งตำบล จากน้ำฝนที่ตกลงชายคา เป็นแนวทางการแก้ปัญหาน้ำขัง ก่อเกิดเชื้อโรคและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะไข้เลือดออก ลักษณะการสร้างบ่อน้ำระบบเปิด รูปแบบบ่อธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดขั้นตอนการทำธนาคารน้ำใต้ดินการสร้างบ่อเติมน้ำธนาคารน้ำใต้ดินมีหลายรูปแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ว่าจะเหมาะกับบ่อแบบไหน หลักการขั้นพื้นฐานคือ ต้องสำรวจและคัดเลือกพื้นที่แหล่งรวมน้ำ ยังช่วยให้คุณภาพน้ำดีขึ้น


เป็นกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำต้นทางก่อนลงสู่บ่อเติมน้ำลงใต้ดิน ขนาดของบ่อตกตะกอนนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำฝนต้นทุนหรือแหล่งน้ำต้นทางเข้าสู่การวางตำแหน่งธนาคารน้ำใต้ดิน หลักการเติมน้ำใต้ดิน ใช้พื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่ หรือบริบทของพื้นที่นั้นๆ เพิ่มเทคนิคด้วยการเจาะสะดือให้ลึก เฉลี่ยประมาณ 3-4  เมตร ขึ้นไป หรือตามแต่ลักษณะบริบทของพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกและบ่อเติมน้ำต้องเป็นแหล่งรวมน้ำ ไม่มีขอบบ่อเพื่อเพิ่มพลังในการอัดน้ำลงสู่บ่อเติมน้ำและน้ำในบ่อเติมน้ำใต้ดินดังกล่าวจะซึมลงสู่ชั้นหินอุ้มน้ำ ปัจจุบัน ระดับน้ำใต้ดินเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4 เมตร แบบการขุดสระบ่อธนาคารน้ำใต้ดินแบบทรงกรวย และทรงกลม เหมาะสำหรับพื้นที่ ช่วยในการป้องกันการทลายของหน้าดิน ช่วยให้น้ำฝนไหลลงด้านล่างแรงขึ้น ช่วยให้น้ำกระจายได้ง่ายขึ้นอุปกรณ์นำหินมาเลียงในบ่อและล้อรถยนต์มาวางเป็นชั้นและนำขาดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วไปเติมน้ำให้เต็มขวดแล้วปิดฝาเอาลงไว้ในล้อรถยนต์แล้วหินเก็ดมาลงทับอีกครั้งหนึ่งและมีขุดลางน้ำทั้งสองข้างเมื่อฝนตกน้ำจะไหลมาร่วมกันบ่อธนาคารน้ำใต้ดินและเป็นสร้างความชุ่มชื่นให้กับพื้นที่และเป็นการลดภาวะอากาศร้อนได้อีกด้วย
###ดาวใต้นิวส์ออนไลน์ 098-9515199

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - การประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งบริเวณวัดถ้ำโพงพาง ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

 ชุมพร - การประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งบริเวณวัดถ้ำโพงพาง ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร  ...