ทิป บ๊อก ยุค 4.0

ทิป บ๊อก ยุค 4.0
ทิป บ๊อก ยุค 4.0

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

!!!ดาวใต้นิวส์ออนไลน์!!! ศรีสะเกษ มลวิภาทุ่ม 5 ล้านเปิดศูนย์เรียนรู้ชาติพันธุ์ 4 เผ่าไทหัตถวิถีมณีวิภา แหล่งรวมผ้าไหมและผ้าฝ้ายแห่งแรกของเมืองดอกลำดวนหวังสร้างรายได้ให้กลุ่มทอผ้าตามชนบทที่ห่างไกล



ศรีสะเกษ มลวิภาทุ่ม 5 ล้านเปิดศูนย์เรียนรู้ชาติพันธุ์ 4 เผ่าไทหัตถวิถีมณีวิภา   แหล่งรวมผ้าไหมและผ้าฝ้ายแห่งแรกของเมืองดอกลำดวนหวังสร้างรายได้ให้กลุ่มทอผ้าตามชนบทที่ห่างไกล

เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 63   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์การเรียนรู้หัตถวิถีมณีวิภา  ตั้งอยู่เลขที่  62/1 ต.สำโรง                                           อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ  นางมลวิภา   โบจรัส  ผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้หัตถวิถีมณีวิภา  ซึ่งเป็นศูนย์จำหน่ายผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าพื้นเมือง เครื่องเงินและเครื่องจักรสาน เปิดเผยว่า  เมื่อเร็ว ๆ นี้ตนได้รับเกียรติจาก นายนพ                            พงศ์ผลาดิสัย  ปลัดจังหวัดศรีสะเกษ  มาเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ขึ้นมา มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาว อ.อุทุมพรพิสัย และชาวศรีสะเกษมาร่วมพิธีจำนวนมาก   โดยหลังจากพิธีเปิดศูนย์แล้วประธานและผู้มาร่วมงานได้พากันเยี่ยมชมขั้นตอนต่าง ๆ ของการทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งกลุ่มแม่บ้านได้พากันมาสาธิตให้ผู้ที่มาร่วมงานได้ชม รวมทั้งสาธิตการแส่วเสื้อ ที่มีลวดลายสวยงามตระการตา   มีการจัดแบ่งสัดส่วนภายในศูนย์เรียนรู้อย่างเป็นระบบ ทั้งการเลี้ยงไหม การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ  การทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย  การแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผ้าพื้นเมืองและผ้าฝ้ายที่ทอเสร็จแล้ว มีสีสันลวดลายที่สวยงามมาก  บ่งบอกถึงอัตลักษณ์พื้นถิ่นแดนลำดวน เพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป ได้มาเลือกซื้อในราคาที่เป็นกันเอง  อีกทั้งมีการตกแต่งรอบบริเวณศูนย์เรียนรู้ด้วยผ้าไหมและผ้าฝ้าย และมีร้านกาแฟสดที่ชงโดยเจ้าหน้าที่ ซึ่งผ่านการอบรมการชงกาแฟมานานนับปีเพื่อไว้บริการนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ด้วย



นางมลวิภา   โบจรัส  ผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้หัตถวิถีมณีวิภา  เปิดเผยต่อไปว่า  การที่ตนเปิดศูนย์เรียนรู้นี้ขึ้นมา  เนื่องจากว่า  ตนมีพื้นเพเป็นชาวอีสานโดยกำเนิด  และได้ไปประกอบธุรกิจอยู่ที่หลายจังหวัด เมื่อกลับมายังบ้านเกิดของพ่อแม่มาพบว่า มีการทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายแทบจะทุกหมู่บ้านของ จ.ศรีสะเกษ   ซึ่งปกติตนเป็นคนชอบสวมใส่ผ้าไหมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวอยู่แล้ว   พอมาเห็นว่า จ.ศรีสะเกษมีการทอผ้าและปักแส่วเสื้อซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของไทยศรีสะเกษเรา  มีการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ  จึงเป็นการจุดประกายความคิดว่า เราจะทำอัตลักษณ์ตรงนี้ จากการใช้วัสดุธรรมชาติทุกอย่างที่มีในชุมชนในหมู่บ้านของเรา ได้จากพ่อแม่คุณตาคุณยายของเราเป็นคนทำขึ้นมา ไม่ใช้เครื่องจักร ใช้มือเย็บเอง ตนอยากจะรักษาอัตลักษณ์ตรงนี้ไว้ให้นานที่สุด

นางมลวิภา  กล่าวต่อไปว่า  ตนอยากเก็บไว้เป็นศูนย์เรียนรู้ว่าตอนนี้ ชาติพันธุ์ของเราคืออะไร ความหมายของ                      อัตลักษณ์คืออะไร อยากให้มีการเรียนรู้ เป็นการหาตลาด เป็นจุดที่จะสร้างรายได้ให้กับชุมชนของเรา โดยที่ว่าเราจะไม่ต้องไปหารายได้จากที่อื่นในภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ ทำให้คนรุ่นโบราณได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันในโลกโซเชี่ยลนี้ให้ได้ ซึ่งตนจะนำอัตลักษณ์วัฒนธรรมทั้ง 4 เผ่าพื้นบ้านของ จ.ศรีสะเกษคือ เผ่าส่วย ลาว เขมรและเยอ มารวมอยู่ที่ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้  เป็นศิลปะของแต่ละหมู่บ้านเป็นการเรียนรู้ว่า แต่ละหมู่บ้านพื้นเพของเรา เริ่มต้นจากตรงไหน  มีความเป็นมาอย่างไร อย่างตรงจุดนี้ เป็นจุดเรียนรู้ชาติพันธุ์ลาว  ทุกจุดภายในศูนย์แห่งนี้ จะมีทั้ง 4 เผ่าของ จ.ศรีสะเกษ ตนจึงได้ทุ่มเงินจำนวน 5 ล้านบาท เพื่อจัดทำศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ขึ้นมา  เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไว้ให้ถึงชนรุ่นหลังต่อไป เพราะว่านี่คืออัตลักษณ์ของอีสานเรานั่นเอง  ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 081-7186726 และ 091-0354493





นายนพ   พงศ์ผลาดิสัย  ปลัดจังหวัดศรีสะเกษ  กล่าวว่า  ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้จะเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ของการผลิตผ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้าไหม  นอกจากจะเป็นศูนย์การเรียนรู้แล้วยังเป็นแหล่งในการกระจายผลิตภัณฑ์  ซึ่งชาวบ้านเป็นผู้ผลิตแล้วศูนย์แห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางแหล่งในการกระจายผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผลิตภัณฑ์โอท๊อปพื้นเมืองต่าง ๆ ถือว่าเป็นการเปิดตัว และจะเป็นการช่วย จ.ศรีสะเกษอีกทางหนึ่งในเรื่องของผลิตภัณฑ์ชุมชนและสินค้าโอท๊อป  ซึ่งศูนย์เรียนแห่งนี้ถือว่าเป็นศูนย์เรียนรู้แห่งแรกของ                                    จ.ศรีสะเกษ  จะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน  ผู้ที่จัดตั้งศูนย์แห่งนี้ขึ้นมาจะต้องยอมรับว่า เป็นผู้ที่มีความกล้า  มีความรู้ มีความตั้งใจจริง  และมีความเสียสละในการที่จะมองอย่างไรให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนกับชาวบ้าน สุดท้ายศูนย์เรียนรู้แห่งนี้จะเป็นประโยชน์กับ จ.ศรีสะเกษเป็นอย่างมากทีเดียว  จึงขอฝากเชิญชวนประชาชนชาวศรีสะเกษและชาวไทยทั่วประเทศให้มาเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ ขอยืนยันว่า ท่านจะไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้าไหมที่มีลวดลายสีสันงดงามอยู่จำนวนมากรวมทั้งผลิตภัณฑ์หัตถกรรมต่าง ๆ  ของทั้ง                             จ.ศรีสะเกษมารวมอยู่ที่แห่งนี้แล้ว   เมื่อมาเยี่ยมชมที่นี่รับรองว่าท่านจะไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน ////////////

 ศิริเกษ   หมายสุข ผู้สื่อข่าว จ. ศรีสะเกษ ###ดาวใต้นิวส์ออนไลน์ 098-9515199

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - การประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งบริเวณวัดถ้ำโพงพาง ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

 ชุมพร - การประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งบริเวณวัดถ้ำโพงพาง ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร  ...