ทิป บ๊อก ยุค 4.0

ทิป บ๊อก ยุค 4.0
ทิป บ๊อก ยุค 4.0

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

!!!ดาวใต้นิวส์ออนไลน์!!! มาเลเซียเตรียมส่งกลับ 121 แรงงานไทยที่พ้นโทษ “ศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมือง” ในมาเลเซีย



อับดุลหาดี/ยะลา/22 พ ค. 63
มาเลเซียเตรียมส่งกลับ 121 แรงงานไทยที่พ้นโทษ “ศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมือง” ในมาเลเซีย
ทีมข่าวเฉพาะกิจรายงาน
ตลอดหนึ่งเดือนกว่าที่คณะทำงานเฉพาะกิจช่วยเหลือคนไทยในมาเลเซีย สมาคมจันทร์เสี้ยวเพื่อการแพทย์และสาธารณะสุข ให้การช่วยเหลือคนไทยที่ติดค้างในมาเลเซียและได้รับความเดือดร้อนจากการประกาศมาตรการกาควบคุมการสัญจร (MCO) การช่วยคนไทยคณะกรรมการเฉพาะกิจฯได้ทำงานเป็นทีมและเป็นระบบจนสามารถบรรเทาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโยไม่เลือกเชื่อชาติ ศาสนา ภูมิลำเนาว่ามาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้นแต่หากทุกคนคือคนไทย”เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” การช่วยเหลือคนไทยทุกคนได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสถานทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู และปีนัง และเน้นยำทุกคนให้ปฏิบัติตามกฎหมายของมาเลเซียอย่างเคร่งครัด โดยหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมายเด็ดขาด
นายตูแวดานียา มือรีงิง ประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจฯเล่าว่า มีเรื่องร้องทุกข์มากมายทีคณะทำงานเฉพาะกิจฯ รับเรื่องร้องเรียนทั้งโดยตรงจากผู้ได้รับความเดือดร้อนที่กำลังลำบากในมาเลเซีย นอกจากนั้นยังมีญาติที่อาศัยในประเทศไทยได้ติดต่อประสานให้ติดตามข่าวคราวญาติคนใกล้ชิดถูกจับกุมระหว่างทำงานในมาเลเซีย โดยเฉพาะแรงงานในร้านต้มยำตามรัฐต่างๆ
“การเดินทางเข้ามาเลเซียของแรงงานไทยสู่มาเลเซียมีหลากหลายวิธีมีทั้งที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้อง มี work permit ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี มีสวัสดิการ บางคนเข้ามาเลเซียถูกต้อง จ็อบพาสปอร์ต แต่ไม่มี work permit พอครบเดือนก็จะมี “คนวิ่งเร็ว” เพื่อนำพาสปอร์ตจำนวนมากไปยังด่านต่างๆ เพื่อจ็อบโดยเสียค่าใช้จ่ายคนละไม่ต่ำว่า 200 ริงกิต สิ่งนี้เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาหลายสิบปีและทำกันเป็นกระบวนการ นอกจากนั้นยังมีคนไทยที่เข้าไปแบบ “กอซอง” คือมีพาสปอร์ตแต่ไม่จ็อบ และประเภทสุดท้ายคือเข้าไปโดยไม่อะไรเลยและอยู่ในมาเลเซียมานาน จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดโควิค 19 ปัญหาต่างๆ จึงปรากฏให้เห็นในท่ามกลางความเดือดร้อนทุกย่อมหญ้าในมาเลเซีย ช่วงต้นเดือนกุมาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมามีการกวาดจับแรงงานทั่วมาเลเซียที่ไม่มี work permit รวมทั้งแรงงานไทยในอาชีพต่างๆ เป็นจำนวนมาก” ประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจฯกล่าว
ประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจฯได้กล่าวต่อว่า ตนได้รับการประสานจากญาติของ นางสาวรอฮานี มะนอ นายฮัมดี แวโดยี น.ส.มูนีเราะ บาสอ และน.ส.อามีเน๊าะ มุสอสะ ว่าสี่คนนี่โดนจับเมือวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 และปัจจุบันถูกควบคุมตัวที่ศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมือง Penjara Belatik Kedah เป็นเวลา 3 เดือนแล้ว โดยทางญาติเล่าว่า
“ญาติที่ทำงานมาเลเซียถูกตำรวจจับเพราะไม่มีใบทำงานแต่ทางเราเคลียร์ค่าใช่จ่ายและถึงเวลากำหนดออกจากคุกวันที่ 23 มีนาที่ผ่านมา แต่ทางมาเลเชียมีประกาศปิดประเทศวันที่ 18 มีนาคม ทางมาเลเซียจึงไม่อนุญาตให้ส่งตัวกลับ ทำให้ทุกคนต้องอยู่ในคุกเหมือนเดิม อยากช่วยหย่อยได้ไหมทำยังอย่างให้ญาติสามารถเดินทางกลับได้” พี่สาวหนึ่งในแรงงานไทยที่ถูกจับ
หลังจากได้เรื่องคณะทำงานได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ให้ช่วยติดตามข้อมูลของแรงงานไทยดังกล่าว โดยได้รับคำตอบว่าคนที่อยู่ในศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมือง ต้องรอไปก่อนเพราะว่าทางการมาเลเซียเตรียมจะพร้อมส่งกลับไทย และทางการไทยกำลังประสานว่าจะได้กลับวันไหน คนที่อยู่ในศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมืองญาติไม่ต้องห่วงเรื่องหนังสือเดินทาง เพราะสถานทูตจะทำ CI ให้กับทุกคน และทางทางมาเลเซียจะมีบริการส่งถึงด่าน เจ้าหน้าทีท่านหนึ่งกล่าว
นอกจากนั้นคณะทำงานยังได้รับการประสานจากญาติของสุวันนา สาแม ซึ่งเป็นชาวอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งตอนนี้อยู่ใน ศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมือง ที่ Kemayan Pahang พร้อมกับสามี ลูกชายวัย 7 เดือน และน้องเขย พร้อมคนไทยอีกราวๆ 200 ชีวิตที่อยู่ในศูนย์กักกันดังกล่าว
“สุวันนาถูกจับเมือวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 พร้อมๆกับครอบครัว ตอนนั้นลูกชายอายุเพียง 3 เดือน ตอนนี้ อายุ 6 เดือนแล้ว วันที่ 22 เมษายน 2563 ที่ผ่านมาแม่ของสุวันนาได้เสียชีวิตเธอได้แต่ร้องไห้ในศูนย์กักกันที่มาเลเซียเพราะไม่สามารถกลับบ้านได้ อยากเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ได้เร่งช่วยเหลือคนไทยเหล่านี้ให้ได้กลับบ้านโดยเร็ว” ญาติสุวันนากล่าว นอกจากนั้นยังมีคนในหมู่บ้านเดียวกันอีกสามคนก็มีชะตากรรมเดียวกัน
คณะทำงานเฉพาะกิจฯ ยังลงพื้นที่บ้านท่าน้ำ อ.ปะนาเระ หลังจากได้รับเรื่องร้องเรียนจากรอมลี กาเร็ง บิดาของนายฮิลมี กาเร็ง 23 ปี นางสาวซารานี กาเร็ง 24 ปี พี่สาว และนายบัดรี ซึ่งเป็นสามีนางสาวสารานี นายรอมลีเล่าว่า ลูกชายเพิ่งเรียนจบจากอินโดนีเซียกลับมาบ้านได้เดือนเดียวและเดินทางไปยังเมืองอีโปฮ์ เปรักเพื่อไปทำงานหาเงินเพื่อเตรียมรับปริญญาบัตรในเดือนมิถุนายนนี้ แต่ถูกจับพร้อมกับพี่สาวและพี่เขยเสียก่อนตอนนี้ถูกกักกันที่ Telok Intan Perak
“ลูกผมสองคนไปทำงานได้แค่ 10 วันก็ถูกจับเพราะมีคนไปรายงานให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตอนนี้ก็จะครบสามเดือนแล้ว เราเป็นพ่อก็เป็นห่วงถ้าไม่มีเรื่องโควิคผมจะเดินทางไปยังมาเลเซียเพื่อถามข่าวคราวลูกและลูกเขย แต่ไปไม่ได้เพราะมาเลเซียยังปิดประเทศไม่รู้จะเปิดเมือไหร่ อยากให้รัฐได้เร่งช่วยเหลือให้ได้กลับบ้านโดยเร็ว” นายรอมลีกล่าว




จากข้อมูลที่คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ได้ประสานกับอดีตเจ้าหน้าที่ไทยท่านหนึ่งให้ข้อมูลว่า ที่ศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมือง Belatik Immigration Detention Camp, Kedah มีคนไทยอยู่จำนวน 56 คน เป็นชาย 32 คน หญิง 24 คน 2.ศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมือง Tanah Merah Immigration Detention Camp, Kelantan มีคนไทยอยู่ 95 คน เป็นชาย 86 คน หญิง 9 คน 3.ศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมือง Ajil Immigration Detention Camp, Terengganu มีคนไทยอยูจำนวน 12 คน เป็นชายทั้งหมดและที่ ศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมือง Kemayang immigrition detention Pahang กว่า 200 คน
ข้อมูลจาก นายอนุศาสน์ สวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี ว่า เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2563 มาเลเซียได้ส่งคนไทยที่พ้นโทษจำนวน 143 คนกลับไทยโดยเที่ยวบินพิเศษ แต่ไม่มีข่าวคราวและรายละเอียดว่าคนไทยเหล่านั้นเป็นใครบ้างมาจากพื้นที่ใด สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิค 19
ทีมข่าวเฉพาะกิจ สำนักข่าวอามานได้ติดต่อกับ คมกฤช จองบุญวัฒนา
อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ว่า เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2563 มาเลเซียได้ส่งคนไทยที่พ้นโทษจำนวน 143 คนกลับไทยโดยเที่ยวบินพิเศษจริง และทุกคนเข้ากระบวนการกักตัว 14 วันตามที่ศูนย์บริหารป้องกันโรคติดต่อ โควิค 19 กำหนด
“ตอนนี้ มี 121 คนทั่วมาเลเซียที่พ้นโทษแล้วรัฐบาลมาเลเซียพร้อมที่จะส่งกลับไทยอย่างเร็วที่สุด ผมได้รับการยืนยันจาก ตม.มาเลเซียเมื่อวาน” นายคมกฤชกล่าว เมื่อวานนี้ (21 พ.ค.2563) ได้ ตม.มาเลเซียได้ปล่อยตัวคนไทยที่พ้นโทษจำนวน 22 คนที่ถูกกักกันที่ อาเจล ตรังกานู และตาเนาะแมเราะ กลันตันไปประเทศไทยผ่านด่านสุไหงโกล-ลก จังหวัดนราธิวาส เรื่องนี้คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ได้โทรศัพท์สอบถามข้อมูลจากกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู คุณมงคล สินสมบูรณ์และ ได้รับการยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง และคนไทดังกล่าวะเข้ากระบวนการกักตัวตาม Local Quarantine ในพื้นที่ต่างๆ
นายคมกฤช จองบุญวัฒนา อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์กล่าวอีกว่าในช่วงเวลาปกติ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ และเครือข่ายอาสาสมัครจะไปเยี่ยมและนำอาหารไปเลี้ยงเป็นระยะ ใครไม่มีเอกสารเดินทาง ก็ออกเอกสารเดินทางให้
“กรณีไหนที่มีปัญหาถูกกักตัวไว้นาน เพราะคดียังไม่เสร็จสิ้น (ส่วนใหญ่ถูกกักตัวไว้เป็นพยานเพื่อเอาผิดนายจ้าง) ก็ช่วยติดตามความคืบหน้าคดีให้ เราประสานงานกับทุกสถานกักกันในมาเลเซียอย่างใกล้ชิด และช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งคนไทยพ้นโทษกลับอยู่เสมอ ถ้าจะส่งกลับทางอากาศ ก็ช่วยติดต่อญาติให้ซื้อตั๋วให้ คนไหนไม่มีเงินซื้อตั๋ว ตม.มาเลเซียจะรวบรวมจนกว่าจะได้จำนวนพอสมควรและส่งกลับพร้อมกันทางบก สถานทูตก็ช่วยจัดรถให้” อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์กล่าวและกล่าวเสริมว่า
“กรณีไหน ญาติติดต่อไม่ได้ เข้าใจว่าน่าจะถูกจับ สถานทูตก็ช่วยตรวจสอบให้ว่าถูกกักตัวอยู่ที่ไหน และแจ้งสถานะคดีพร้อมทั้งอธิบายกระบวนการทางกฎหมายให้ญาติทราบ กรณี 121 คนที่ยังตกค้างอยู่ สถานทูตกำลังขอให้ฝ่ายมาเลเซียมีหนังสือแจ้งมาอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นต้นเรื่องให้สถานทูตใช้ในการประสานงานกับหน่วยงานในฝั่งไทยเพื่อกำหนดเวลาและรูปแบบในการรับกลับต่อไป” อัครราชทูตที่ปรึกษากล่าว
ท่านอัครราชทูตที่ปรึกษาให้เหตุผลเหตุที่ยังไม่ได้ส่งกลับเกี่ยวเนื่องกับการกำหนดโควต้า 350 คน/วันของฝ่ายไทย เหตุที่ต้องมีโควต้าเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องสถานที่กักตัว โดยตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้อำนวยความสะดวกให้คนไทยในมาเลเซียกลับเข้าไทยทางบกแล้วหมื่นกว่าคนแล้ว
ภาพ/ข่าว
อับดุลหาดี  เจ๊ะยอ จ.ยะลา  ###ดาวใต้นิวส์ออนไลน์098-9515199

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุมพร - การประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งบริเวณวัดถ้ำโพงพาง ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

 ชุมพร - การประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งบริเวณวัดถ้ำโพงพาง ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร  ...