ทิป บ๊อก ยุค 4.0

ทิป บ๊อก ยุค 4.0
ทิป บ๊อก ยุค 4.0

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ชุมพร - การประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งบริเวณวัดถ้ำโพงพาง ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

 ชุมพร - การประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งบริเวณวัดถ้ำโพงพาง ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร



     วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 09.30 - 12.30 น. ณ อาคารอเนกประสงค์วัดสุวรรณคูหาวารีวง (วัดถ้ำโพงพาง) ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร   นายจิรวัฒน์  สุวรรณลิขิต (โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชุมพร)ให้เกียรติมาเป็นประธานการประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟัง ความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกัน และแก้ไขปัญหา      การกัดเซาะชายฝั่ง (ระยะที่ 2) พื้นที่ชายฝั่งบริเวณวัดถ้ำโพงพาง ตำบลหาดทรายรี       อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร  ร่วมกับ หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน         บริษัทผู้ให้บริการ และประชาชนที่มีความสนใจ จำนวนมาก

 

นางสาวฐติาพรรณ ฉันทโชติ  (วิศวกรโยธาชำนาญการ)     ผู้แทนจากกรมโยธาธิการและผังเมือง  กล่าว่า กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทผู้ให้บริการ ประกอบด้วย            บริษัท แมคโครคอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้เป็นผู้ดำเนินการโครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขป้องกัน          การกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2  ต่อเนื่องจากโครงการเดิม ฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนว ทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ในพื้นที่ศึกษาตามแนวทางการจัดการ ชายฝั่งด้วยระบบกลุ่มหาดของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อสนับสนุน   ให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้าน  การจัดการชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด โดยคำนึงถึง       ความเหมาะสมทางวิศวกรรม สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นกรอบ แนวทางในการดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ให้กับชายฝั่งที่ประสบปัญหา    การกัดเซาะอย่างบูรณาการและเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง

 

สำหรับการประชุมในวันนี้เป็นการประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 เพื่อประชาสัมพันธ์ และแนะนำโครงการฯ พร้อมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้มีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็น  อันเป็นประโยชน์ต่อ การศึกษาโครงการ นอกจากนี้ได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน         องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชนต่าง ๆ ในการสนับสนุนการศึกษาโครงการ โดยเชิญผู้แทนจาก หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด ระดับอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และตัวแทนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่โครงการ และพื้นที่ใกล้เคียงเข้าร่วมการประชุม

นายจิรวัฒน์ สุวรรณลิขิต เปิดเผยว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง ตระหนักถึงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ส่งผลกระทบต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน อีกทั้งยังคำนึงถึงผลกระทบอันอาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนิน มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ผ่านมา จึงได้ดำเนินการออกแบบและ ก่อสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ควบคู่ไปกับการดำเนินงานศึกษาผลกระทบ สิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อให้การดำเนินงานก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม อาชีพ ความปลอดภัย และวิถีชีวิตของประชาชนน้อยที่สุด  การดำเนินงานโครงการในครั้งนี้ ได้นำเอาแนวคิดการจัดการชายฝั่งด้วย         “ระบบกลุ่มหาด” มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นไปในลักษณะเชิงพื้นที่หรือ ในลักษณะระบบกลุ่มหาด จึงได้จัดทำโครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและ แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2 ในพื้นที่ชายฝั่งบริเวณวัดถ้ำโพงพาง ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ตามแนวทางการจัดการชายฝั่งด้วยระบบกลุ่มหาดของกรม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้าน การจัดการชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด

สุภาวดี  นนทรี รายงาน

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2565

ชุมพร - การประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระยะที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณตำบลบางมะพร้าว

 

ชุมพร - การประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ  ผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระยะที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณตำบลบางมะพร้าว



วันที่ 25 เมษายน 2565 เวลา 09.00 น. ณ อาคารศาลาการเปรียญวัดราษฎร์บำรุง ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร  นายจิรวัฒน์ สุวรรณลิขติ  โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชุมพร  ให้เกียรติมาเป็นประธานการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ร่วมกับผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน ผู้นำชุมชน สื่อมวลชล บริษัทที่ปรึกษา และประชาชนทุกท่าน







   นายพรยศ เทียนทอง  วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าว่าที่ผ่านมา กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งใน หลาย ๆ พื้นที่ทั่วประเทศไทย เพื่อป้องกันทรัพย์สินของประชาชนและของราชการไม่ให้คลื่น กัดเซาะจมลงในทะเล และแม้ว่าการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลสามารถช่วย ป้องกันชายฝั่งและแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนได้ แต่การดำเนินการในบางพื้นที่อาจ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน อาชีพ ความปลอดภัย วิถีชีวิตของประชาชน และ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีสัณฐานและสภาพชายหาด ดังนั้น กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้ จัดทำโครงการประเมินผลและติดตามผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะ ชายฝั่งทะเล เพื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวมาปรับปรุงการดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่งของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและลดผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่ง โดยได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาคือ บริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษา

การศึกษาโครงการต้องดำเนินการการมีส่วนร่วมของประชาชนควบคู่ไปด้วย โดยการ จัดประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อเป็นการชี้แจงสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะแนว ทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจากโครงสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ทะเล กรณีที่ประสิทธิภาพของการป้องกันชายฝั่งไม่เพียงพอ หรือเกิดการชำรุดเสียหาย หรือ ส่งผลกระทบกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ปัจจุบัน เพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมในทุกระดับ โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ ถูกต้อง มีความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอันเป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม  ในนามของกรมโยธาธิการและผังเมือง ใคร่ขอเรียนเชิญ ท่านจิรวัฒน์ สุวรรณลิขิต  โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชุมพร กรุณาให้โอวาท คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางการประชุม และเปิดการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ โครงการประเมินผลและติดตามผลกระทบจาก การก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระยะที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณตำบล บางมะพร้าว (ระยะที่ 1-2 และระยะที่ 3 เฉพาะด้านทิศใต้) อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร  ในครั้งนี้ด้วย








    นายจิรวัฒน์ สุวรรณลิขติ   ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชน รวมทั้งทรัพย์สินของทางราชการในบริเวณที่ประสบปัญหาเป็นอย่างมาก กรมโยธาธิการ และผังเมืองจึงได้มุ่งมั่นดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ ได้มากที่สุด โดยส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาคือการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมป้องกันการกัดเซาะ ชายฝั่งหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเป็นที่ยอมรับของประชาชน แต่การที่มี โครงสร้างดังกล่าวในบริเวณชายฝั่งทะเลอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม อาชีพ ความ ปลอดภัย วิถีชีวิตของประชาชน กรมโยธาธิการและผังเมือง จึงได้ริเริ่มให้มีโครงการประเมินผล และติดตามผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล  และจากรายงานของผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ระบุว่า การดำเนินการศึกษา โครงการต้องดำเนินการควบคู่กับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการจัดประชุมประชาสัมพันธ์ โครงการ ซึ่งครั้งนี้เป็นการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อชี้แจงสรุปผลการศึกษาและ ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจากโครงสร้างเขื่อนป้องกันการกัด เซาะชายฝั่งทะเล กรณีที่ประสิทธิภาพของการป้องกันชายฝั่งไม่เพียงพอ หรือเกิดการชำรุดเสียหาย

หรือส่งผลกระทบกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ต่อเนื่อง (End Effect) กับโครงสร้างป้องกันการกัด เซาะชายฝั่งปัจจุบัน เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และร่วม แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ผมขอขอบคุณ กรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ได้จัดให้มีการประชุมในวันนี้ และขอขอบคุณ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน สื่อมวลชน และผู้มีเกียรติทุกท่านที่ สละเวลามาร่วมประชุม บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเปิดการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ โครงการประเมินผลและติดตามผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระยะ ที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณตำบลบางมะพร้าว (ระยะที่ 1-2 และระยะที่ 3 เฉพาะด้านทิศใต้) อำเภอ หลังสวน จังหวัดชุมพร ในนามของจังหวัดชุมพร ขอให้การประชุมในวันนี้ดำเนินไปด้วยความ เรียบร้อย และบรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกประการ

สุภาวดี นนทรี รายงาน

 

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2565

ชุมพร - การประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2 พื้นที่ในระบบกลุ่มหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

 

ชุมพร - การประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2 พื้นที่ในระบบกลุ่มหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ถึงตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร


วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2565 เวลา 13.00-16.30 น. ณ สตาร์ไลท์บีช รีสอร์ท ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร  นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ให้เกียรติมาเป็นประธานการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษา เพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2 พื้นที่ในระบบ กลุ่มหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (Video Conference) ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meeting     ในวันนี้ พร้อมกับ  นายจิรวัฒน์ สุวรรณลิขิต โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชุมพร  นายวิทวัส วงศ์เครือศร วิศวกรโยธาชำนาญพิเศษ - ผู้แทนกรมโยธาฯ   วิทยากรทั้ง 2 ท่าน ผศ.ดร.สมฤทัย ทะสดวก ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชายฝั่ง  นางสาวนุชรินท์ กาหลง ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม และ หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน สื่อมวลชน บริษัทที่ปรึกษา และประชาชนทุกท่าน










    นายจิรวัฒน์ สุวรรณลิขิต   กล่าว่า  ในวันนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท แมคโคร คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้เป็น ผู้ดำเนินการโครงการศึกษาโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดทำแผนหลักแนวทาง และมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นไปในลักษณะเชิงพื้นที่หรือในลักษณะ กลุ่มหาดอย่างบูรณาการ ส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง และแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ตามระบบกลุ่มหาด ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ให้กับชายฝั่ง ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างบูรณาการและเกิดผลสัมฤทธิ อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ในการดำเนินการศึกษาต้องดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับการประชาสัมพันธ์และ การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์และประชุม รับฟังความคิดเห็น จำนวน 3 ครั้ง และการประชุมเชิงวิชาการเฉพาะด้านวิศวกรรมการป้องกัน  การกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 1 ครั้ง ซึ่งการประชุมในวันนี้เป็นการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ  ครั้งที่ 1 เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและชี้แจงสรุปผลการศึกษาร่างแผนหลักแนวทางและ มาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด พร้อมรับฟังความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะต่อโครงการในพื้นที่ศึกษาตามระบบกลุ่มหาด โดยได้เชิญหน่วยงานราชการที่ เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว และภาค ประชาชน เพื่อร่วมรับฟังข้อมูลโครงการและร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะที่เป็น ประโยชน์ต่อการศึกษา ในนามของกรมโยธาธิการและผังเมือง ใคร่ขอเรียนเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร  กรุณาให้โอวาท คำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางการประชุม และเปิดการประชุมประชาสัมพันธ์ โครงการครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2 พื้นที่ในระบบกลุ่มหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ถึงตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร  





   นายโชตินรินทร์ เกิดสม  เปิดเผยว่า ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้มาเป็นประธานในการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2 พื้นที่ในระบบกลุ่มหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ถึงตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ในนามของจังหวัดชุมพร ขอต้อนรับทุกท่าน ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน  เป็นระยะทางยาวกว่า 3,151.13 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด เป็นชายฝั่งทะเลอ่าวไทย จำนวน 17 จังหวัด ความยาว 2,039.78 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลอันดามัน จำนวน 6 จังหวัด ความยาว 1,111.35 กิโลเมตร โดยปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่หลากหลาย เช่น เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชน กิจกรรมการท่องเที่ยว การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และท่าเรือ เป็นต้น ดังนั้น ชายฝั่งทะเลจึงมีความสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม  อย่างไรก็ดี พื้นที่ชายฝั่งทะเลนั้นต่างประสบปัญหาการกัดเซาะตลอดแนวชายฝั่ง โดยมี ระดับความรุนแรงและสาเหตุที่แตกต่างกันไปทั้งจากปัจจัยทางธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานมีรูปแบบการป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเล ที่หลากหลายแตกต่างกันไป ทั้งนี้ หากรูปแบบการป้องกันการกัดเซาะที่เลือกใช้ไม่เหมาะสม  จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและสิ้นเปลืองงบประมาณ

 อย่างไรก็ดี ทราบว่ากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้มีการกำหนดแนวทางการจัดการ ชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด เพื่อให้สามารถดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการชายฝั่งได้อย่าง มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งระบบกลุ่มหาดแต่ละกลุ่มประสบปัญหาการกัดเซาะที่รุนแรงแตกต่าง กันไปจึงควรได้รับการศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งต้องมี การบูรณาการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขปัญหา ให้ครอบคลุมปัญหาในแต่ละระบบกลุ่มหาดที่แตกต่างกัน จากรายงานของผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ระบุว่า การดำเนินงานโครงการ ได้นำเอาแนวคิดการจัดการชายฝั่งด้วย ระบบกลุ่มหาดมาประยุกต์ใช้ในการศึกษา และ ได้จัดทำโครงการฯ ต่อเนื่องจากโครงการฯ เดิม เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มหาดทั่วทั้งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ  ที่รับผิดชอบในด้านการจัดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้ง ยังให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยกำหนด ให้มีการประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น จำนวน 3 ครั้ง และการประชุม เชิงวิชาการเฉพาะด้านวิศวกรรมการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 1 ครั้ง โดยในครั้งนี้จะ เป็นการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ และชี้แจง สรุปผลการศึกษาร่างแผนหลักแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดย ใช้ระบบกลุ่มหาด พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการในพื้นที่ศึกษาตาม ระบบกลุ่มหาดซึ่งผมเชื่อมั่นว่าทุกท่านที่ร่วมอยู่ในที่ประชุมแห่งนี้ มีศักยภาพ และพร้อมที่จะให้ ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ที่หลากหลาย เพื่อที่หน่วยงานจะได้นำ แนวคิดที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นไปบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา และเกิดความยั่งยืนต่อไป ผมขอขอบคุณ กรมโยธาธิการและผังเมืองที่ได้จัดให้มีการประชุมในวันนี้ และขอขอบคุณ หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน ผู้นำชุมชน สื่อมวลชน และผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่เสียสละเวลามาร่วมประชุม บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว  ผมขอเปิดการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2 ขอให้การประชุมในวันนี้ดำเนินการประชุม ไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ 

สุภาวดี   นนทรี รายงาน


วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563

!!!ดาวใต้นิวส์ออนไลน์!!! !!สาวชาวไทยใหญ่แม่สาย!! เข้าร้องทุกข์ต่อสื่อ หวั่นกลัวความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตน

 !!สาวชาวไทยใหญ่แม่สาย!! เข้าร้องทุกข์ต่อสื่อ หวั่นกลัวความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตน

/////////////////////////////////////////////// 


เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 63 เวลา 16.00 น. นางสาวลี่ ยอดคำ อยู่บ้านเลขที่ 0/89 ม.6 ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ได้เข้าร้องทุกข์ ต่อ นายณฐพัชร์ อภิโชคกุล หัวหน้าสำนักข่าวเบาะแสภาคเหนือ (บก.เจี๊ยบ แม่สายนิวส์ออนไลน์) กรณีเนื่องจากหวั่นเกรงความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตน กรณีถูกสามีเก่าคุกคาม ซึ่งที่ผ่านมาตนได้เป็นอนุภรรยาคนที่ 4 โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส โดยบุกรุกเข้ามาในบ้านของตน และทำลายทรัพย์สินเสียหาย เกิดเหตุที่บ้านเลขที่ 149 ม.5 บ.ร้องพระเจ้า ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย จ.เชียงรายซึ่งตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ซึ่งในขณะนั้นตนเองไม่ได้อยู่ในบ้านหลังดังกล่าว โดยสามีเก่า นายมงคลฯ พื้นเพเป็นคนอาศัยอยู่ที่ กทม.


 และนางพรซึ่งเป็นน้าสาวของตนเองที่เป็นอนุภรรยาคนที่ 2 อีกคนหนึ่งของแฟนเก่าของตน ได้ทำลายทรัพย์สิน และกระปุกออมสินที่มีเงินประมาณกว่า 3 หมื่นบาท เอาไป ซึ่งสิ่งของภายในบ้านเสียหายหลายรายการ  และได้ฝากบอกกับญาติของตนเองว่า ถ้าไม่กลับไปคืนดีกันอาจจะไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และให้ระวังตัวให้ดี เนื่องจากตัวเองเป็นผู้หญิงกลัวจะเกิดเรื่องอันตรายกับตน จึงได้เข้าร้องเรียนต่อสื่อในครั้งนี้ และได้เข้าแจ้งความลงบันทึกประจำวันต่อ พ.ต.ท.พีรภัทร อุ่นนันกาศ สารวัตรสอบสวน สภ.เกาะช้าง ในวันที่ 7 ส.ค.63 เวลา 19.00 น. เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่ตนถูกคำข่มขู่ หากตนเองเกิดเหตุถูกทำร้ายร่างกายหรือทรัพย์สินภายหน้า จะได้เก็บข้อมูลหลักฐานไว้ในสำนวนคดีต่อไป

///////////////////////////////////////////////////////////////////

ณฐพัชร์ อภิโชคกุล  หัวหน้าสำนักข่าวเบาะแสภาคเหนือ  

บก.เจี๊ยบแม่สายนิวส์ออนไลน์   /////////  รายงาน  /////////////// ###ดาวใต้นิวส์ออนไลน์098-9515199

!!!ดาวใต้นิวส์ออนไลน์!!! รมต.ท่องเที่ยวและกีฬา นำทีมสำรวจเกาะมันนอก​ ใช้เป็นที่กักตัวนักวิ่งเทรลอีลีทก่อนร่วมแข่ง Thailand By UTMB”

 รมต.ท่องเที่ยวและกีฬา นำทีมสำรวจเกาะมันนอก​ ใช้เป็นที่กักตัวนักวิ่งเทรลอีลีทก่อนร่วมแข่ง Thailand By UTMB”


นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย​ ​นายเข​มพล​ อุ้ย​ต​ยะ​กุล​ เลขานุการ​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวงการ​ท่องเที่ยว​และ​กีฬา​ ดร.ก้องศักด ยอดมณี  ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย และคณะ  ได้เดินทางไปยังเกาะมันนอก จังหวัดระยอง  เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา เพื่อสำรวจพื้นที่และศึกษาความเป็นไปได้ในการนำนักกีฬาวิ่งเทรลชั้นนำระดับโลกเข้ากักตัวก่อนร่วมการแข่งขันรายการวิ่งเทรล  Thailand By UTMB ปลายเดือนตุลาคม 2563 นี้


นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ตามที่ประเทศไทยได้ลิขสิทธิ์ จาก UTMB International ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  ให้เป็นหนึ่งในครอบครัว Ultra-Trail du Mont-Blanc (UTMB)  เป็นสนามแข่งขัน “by UTMB” สนามที่ 6 ของโลก และจะเป็นหนึ่งในสนามของ Ultra Trail World Tour ปี 2021  ซึ่งมีกำหนดจัดงานในวันที่ 30 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2563 นี้ ที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่   และเมื่อไม่นานมานี้ ศบค. (ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) ก็ได้ผ่อนคลายให้จัดการแข่งขันวิ่งได้ โดยต้องดำเนินการตามคู่มือที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาประกาศ  ตามสถานการณ์ในประเทศไทยที่ไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศมาเป็นระยะเวลามากกว่า 100 วัน  ดังนั้น การจัดการแข่งขันวิ่งเทรล Thailand By UTMB ปลายปีนี้ จึงจะเดินหน้าต่อตามแผนการ อย่างไรก็ตาม มีแนวคิดจะเชิญนักกีฬาวิ่งเทรลชั้นนำจากต่างประเทศมากักตัว 14 วัน ก่อนการแข่งขัน และรับสมัครนักกีฬาไทยและนักกีฬาต่างชาติที่พำนักในไทยเพิ่ม 


ด้าน​ ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการดึงดูดนักวิ่งเทรลในประเทศมากขึ้น จะมีการเพิ่มระยะการแข่งขันที่ 10 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางใหม่ด้วย


การเชิญนักกีฬาชั้นนำจากต่างประเทศเข้าร่วมนี้ จะพาไปพำนักในพื้นที่ที่แยกสัดส่วนอย่างชัดเจน เช่น  รีสอร์ท หรือเกาะที่มีความสวยงาม ที่นักกีฬาสามารถฝึกซ้อมและพักผ่อนเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันได้ และเป็นการเผยแพร่การต้อนรับที่มีคุณภาพ ทั้งในด้านการบริการ และสุขอนามัยของโรงแรมในสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงามของไทย


ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ทั่วโลก  การแข่งขันการวิ่งเทรลชั้นนำทั่วโลกได้ยกเลิกไปแทบทุกรายการ  ดังนั้น คาดว่าการแข่งขัน Thailand by UTMB ของประเทศไทยจะได้รับความสนใจจากนักวิ่งเทรลและสื่อทั่วโลก 



สำหรับ​ การวิ่ง​ Ultra Trail World Tour ปี 2021  ประเทศไทย​ จะจัดเป็นสนามที่ 6 ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2563 นี้ ที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่​ ซึ่งคาดว่าจะดึงดูดนักวิ่งเทรลจำนวนมาก​จากทั่วโลก เพราะในหลายๆ​ สนามได้ประกาศยกเลิกการแข่งขัน​ อาทิ​ ที่สเปน​ โอมาน​ และสนามยอดฮิต​ที่จัดขึ้น ณ เมืองชาโมนีซ์ ประเทศฝรั่งเศส ที่มีเส้นทางวิ่งบนเทือกเขาแอลป์ ข้ามพรมแดน 3 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลี

###ดาวใต้นิวส์ออนไลน์098-9515199

!!!ดาวใต้นิวส์ออนไลน์!!! โกลาหล รถ 10 ล้อ บรรทุกแป้งมันเต็มคัน พลิกคว่ำขวางถนนเพชรเกษม ต้องเร่งขนถ่ายหนีฝน เพราะอาจกลายเป็นโคลนเกิดโศกนาถกรรมได้

 พิสิษฐ์รื่นเกษมข่าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์โทร 099 339 6444

โกลาหล รถ 10 ล้อ บรรทุกแป้งมันเต็มคัน พลิกคว่ำขวางถนนเพชรเกษม ต้องเร่งขนถ่ายหนีฝน เพราะอาจกลายเป็นโคลนเกิดโศกนาถกรรมได้ 


เมื่อเวลา 17.30 น.วันที่ 8 ส.ค.63 ตู้บริการประชาชนตำรวจทางหลวงไชยราช ได้รับแจ้งอุบัติเหตุ รถบรรทุกพลิกคว่ำบนถนนเพชรเกษม ขวางถนนล่องใต้ 1 ช่องจราจรและมีถุงแป้งมันที่บรรทุกมาตกกระจายเกลื่อน ทำให้รถเดินทางไม่สะดวก และ อาจเกิดอันตายขึ้นได้  เหตุเกิดหลักกิโลเมตรที่ 406+300 หมู่ที่ 3 ต.ช้างแรก อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ จึงพร้อมด้วยรถวิทยุสายตรวจและอาสาสมัครกู้ภัยตำรวจทางหลวงจำนวนหลายคัน เดินทางไปที่เกิดเหตุ พร้อมให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น 

พบรถบรรทุก 10 ล้อ ยี่ห้อ อีซุซุ สีขาว พลิกตะแคงอยู่บนถนน มีกล่องกระดาษที่ใส่ถุงแป้งมันยี่ห้อต่างๆตกแตกกระขายลงบนพื้น ผสมกับน้ำมันรถที่หกออกมาจากถัง ทำให้รถลื่น การจราจรเริ่มติดขัด เจ้าหน้าที่ต้องรีบเคลียพื้นที่เพื่อเปิดการจราจรได้ 1 ช่องทาง ให้รถสามารถเดินทางลงสู่ภาคใต้ได้ นอกจากนี้ได้ประสานกับบริษัทประกันสินค้าเพื่อให้เร่งนำรถมาขนถ่ายลังที่ใส่ถุงแป้งมันออกจากที่เกิดเหตุ เพราะเกรงว่า ฝนที่ตั้งเค้าอาจจะตกลงมาทำให้ถนนกลายเป็นถนนแป้งมันได้ อีกทั้งไกล้ค่ำซึ่งบริเวณดังกล่าวไม่มีไฟส่องสว่างบนถนน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุซ้อนหรือเกิดโศกนาถกรรมที่คิดไม่ถึงได้  โดยคนงานได้เร่งทำการขนย้ายเปลี่ยนถ่ายใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมงจึงสามารถเคลียพื้นที่ถนนให้กลับมาเป็นปกติได้ 









นายอรุณ อ่อนรักษ์ อายุ 41ปี  บ้านเลขที่ 428/2 ม.4 ต.ท่าชะมวง อ.รันตภูมิ จ.สงขลา พนักงานขับรถบรรทุกเล่าให้ฟังว่า ได้รับสินค้าซึ่งเป็นแป้งมาจากโรงงานที่กรุงเทพ ฯ จะไปส่งที่ จ.สงขลา มาถึงที่เกิดเหตุเกิดอาการง่วงทำให้รถแฉลบจะลงข้างทางด้านซ้าย ตกใจจึงหักขึ้นมาบนถนนทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำตกแคงข้างบนพื้นถนน โชคดีที่ตนเองไม่ได้รับอันตราย ส่วนรถมีประกันสามบวก แต่มีประกันสินค้าไว้ บริษัทประกันจึงมาช่วยเร่งขนถ่ายออกจากถนนให้ 

/////////////////// ###ดาวใต้นิวส์ออนไลน์098-9515199

ชุมพร - การประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งบริเวณวัดถ้ำโพงพาง ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

 ชุมพร - การประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งบริเวณวัดถ้ำโพงพาง ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร  ...